คุณสมบัติภาพจากดาวเทียมสำรวจทรัพยากร


1. การบันทึกข้อมูลเป็นบริเวณกว้าง(Synopic View)
2. การบันทึกภาพได้หลายช่วงคลื่น
3. การบันทึกภาพบริเวณเดิม(Repetitive Coverage)
4. การให้รายละเอียดหลายระดับ ภาพจากดาวเทียมให้รายละเอียดหลายระดับ
5. การให้ภาพสีผสม(False Color Composite)

สีแดง(R)           +        สีเขียว(G)                            =                  สีเหลือง(Yellow)
สีแดง(R)           +        สีน้ำเงิน(B)                          =                  สีม่วงแดง(Magenta)
สีน้ำเงิน(B)        +        สีเขียว(G)                            =                 สีฟ้า(Cyan)
สีน้ำเงิน(B)        +        สีเขียว(G) + สีแดง(R)         =                 สีขาว(White)
สีเหลือง(Y        +        สีม่วงแดง(M)+สี ฟ้า(C)       =                 สีดำ(Black)

6. การเน้นคุณภาพของภาพ(Image Enhancement) มี 2 วิธี คือ การขยายค่าความเข้มระดับสีเทาให้กระจายจนเต็มช่วงเรียกว่า Linear Contrast Stretch และ Non - Linear Contrast Stretch โดยให้มีการกระจายข้อมูลของภาพจากดาวเทียมในแต่ละค่าความเข้มให้มีจำนวนจุดภาพใกล้เคียงกัน เรียกว่า Histogram Equalization Stretch 






ข้อมูลที่ได้จากเครื่องตรวจวัด จะเก็บไว้ในรูปของ ข้อมูลภาพ (image data) ซึ่งแบ่งเป็น 2 ประเภท หลัก คือ
   
      1.  ข้อมูลอนาลอก (analog data) คือ ข้อมูลที่แสดงความเข้มของรังสีซึ่งมีค่า ต่อเนื่อง ตลอดพื้นที่ที่ศึกษา เช่น ภาพถ่ายทางอากาศ (ซึ่งยังไม่ถูกแปลงเป็นภาพดิจิตอล) และ
      2.  ข้อมูลเชิงตัวเลข  (digital data) คือ ข้อมูลแสดงความเข้มของรังสี ซึ่งถูก แบ่ง ออกเป็นระดับ (level)  ย่อย ๆ ในการจัดเก็บ  เรียกว่าค่า บิท (bit) โดย ข้อมูล n บิท จะแบ่งเป็น 2n ระดับความเข้ม ทั้งนี้ภาพทั่วไปมักจะแบ่งออกเป็น 256 ระดับความเข้ม (เรียกว่าเป็นข้อมูล 8 บิท)

ทั้งนี้ข้อมูล เชิงตัวเลข ที่ได้การตรวจวัดจากระยะไกล มักถูกเก็บไว้ใน 2 รูปแบบ ที่สำคัญคือ

      1. ในรูปของ ภาพเชิงตัวเลข (digital image)  เช่นภาพดาวเทียมส่วนใหญ่ที่เห็น ซึ่งมันจะแบ่งพื้นที่การเก็บข้อมูลบนภาพ ออกเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ จำนวนมาก เรียกว่า เซลล์ภาพ  (pixel) ซึ่งแต่ละชิ้น จะเป็นตัวแทนพื้นที่ในกรอบการมอง แต่ละครั้ง บนผิวโลกของเครื่องตรวจวัด หรือ
      2. ในรูปของ แฟ้มข้อมูลเชิงตัวเลข (digital file) ใน 3 มิติ สำหรับการประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ ต่อไป

      ในกรณีหลังนี้ มักพบในการศึกษาชั้นบรรยากาศจากระยะไกล (atmospheric RS) โดยข้อมูลเชิงตัวเลขที่เก็บไว้มักอ้างอิงเทียบกับ ตำแหน่งและความสูง ของตำแหน่งที่ตรวจวัดจากผิวโลก ทำให้ได้เป็นแฟ้มข้อมูลใน 3 มิติ (3-D data) ออกมา สำหรับใช้ในการประมวลผลต่อไป    



ลักษณะของการจัดเก็บข้อมูลภาพ แบบอนาลอก (ต่อเนื่อง) และ แบบดิจิตอล (ไม่ต่อเนื่อง)




ตัวอย่างการเก็บข้อมูลภาพไว้ในแบบ ข้อมูลเชิงตัวเลข แบบ 8 บิท (256 ระดับความเข้ม)


แต่หากเราพิจารณาตามลักษณะของรังสีที่ เครื่องตรวจวัด วัดได้ดี จะแบ่งการตรวจวัดได้เป็น 2 แบบ คือ
      1.   การตรวจวัดแบบแพสซีฟ (Passive RS) หรือ แบบเฉื่อย
                      เครื่องตรวจวัดในกลุ่มนี้  จะคอยวัดความเข้มของรังสีที่แผ่ออกมาจากวัตถุ หรือ ของแสงอาทิตย์ที่สะท้อนออกมาจากตัววัตถุเท่านั้น  แต่มันจะ ไม่มี การสร้างสัญญาณขึ้นมาใช้เอง ตัวอย่างของอุปกรณ์ในกลุ่มนี้มีเช่น พวกกล้องถ่ายภาพทางอากาศ  หรือ เครื่องกวาดภาพของดาวเทียม Landsat  เป็นต้น
      2.   การตรวจวัดแบบแอกทีฟ (Active RS) หรือ แบบขยัน
                       เครื่องตรวจวัดในกลุ่มนี้ จะวัดความเข้มของสัญญาณที่ตัวมันเอง สร้างและส่งออกไป ซึ่งสะท้อนกลับมาจากตัววัตถุเป็นหลัก โดยอุปกรณ์สำคัญในกลุ่มนี้ ได้แก่ พวกเรดาร์  ไลดาร์ และ โซนาร์ 
   ข้อมูลเพิ่มเติม

       เครื่องตรวจวัด แบบเฉื่อย จะมีทั้งแบบที่วัดรังสีในช่วงคลื่นของแสงขาว (visible light) อินฟราเรด (IR)   และ ช่วงไมโครเวฟ (microwave) ในขณะที่เครื่องตรวจวัด แบบขยัน จะทำงานในช่วงไมโครเวฟเป็นหลัก                       
            และจะทำงานได้ ตลอดเวลา ทั้งกลางวันและกลางคื








อ้างอิง

เอกสารประกอบการเรียน-การสอนวิชา 876211 การสำรวจจากระยะไกล 1
(Remote Sensing 1) ประจำภาคเรียนที่ 1/2557
โดย  ดร.นฤมล   อิทรวิเชียร คณะภูมิสารสนเทศศาสตร์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น