การตรวจวัดจากระยะไกลมี ข้อดี อยู่หลายประการ ซึ่งเป็นประโยชน์มากต่อการศึกษาองค์ประกอบและ โครงสร้างของบรรยากาศและพื้นผิวโลก ทั้งในระดับ ท้องถิ่นและระดับโลก อาทิเช่น
1. ตรวจวัดครอบคลุมพื้นที่ได้เป็น บริเวณกว้าง
ในแต่ละครั้ง โดยเฉพาะการตรวจวัดจากอวกาศ
ทำให้มองภาพรวมได้ง่าย และได้ข้อมูลที่ค่อนข้างทันต่อเหตุการณ์
2. ตรวจวัดได้ใน หลายระดับ ของ ความละเอียด
ทั้งความละเอียดเชิงพื้นที่และความละเอียดเชิงรังสี ขึ้นอยู่กับความสามารถของอุปกรณ์
และระดับความสูงของสถานีติดตั้ง เป็นสำคัญ
3. ตรวจวัดได้ อย่างต่อเนื่อง
ทั้งในช่วงกลางวันและช่วงกลางคืน โดยเฉพาะการตรวจวัดในช่วง เทอร์มอลอินฟราเรด และ ไมโครเวฟ
ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้แสงอาทิตย์ช่วยในการสำรวจ
4. ตรวจวัดได้ใน หลายช่วงคลื่น
ไม่เฉพาะในช่วงแสงขาวที่ตาเรามองเห็นเท่านั้น ทำให้ได้ข้อมูล
เกี่ยวกับวัตถุหรือพื้นที่ที่ศึกษา มากกว่าที่เรารับรู้ตามปกติมาก
5. ตรวจวัดข้อมูลในพื้นที่ ที่เข้าถึงทางพื้นดินลำบาก
ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เนื่องจากอุปกรณ์ที่ใช้ต้องการเพียงสัญญาณคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
ที่มาจากพื้นที่ที่ศึกษา เท่านั้นในการทำงาน
สำหรับ ข้อด้อย ของการตรวจวัดจากระยะไกล ที่เห็นได้ชัดมีอาทิเช่น
สำหรับ ข้อด้อย ของการตรวจวัดจากระยะไกล ที่เห็นได้ชัดมีอาทิเช่น
1. ต้องใช้ งบลงทุน ในเบื้องต้นและงบดำเนินการสูง
โดยเฉพาะในการจัดหาสถานีติดตั้งและการสร้าง อุปกรณ์ตรวจวัด
เนื่องจากเป็นเทคโนโลยีระดับสูง
2. ต้องใช้ บุคลากร ที่ได้รับการฝึกฝนมาโดยเฉพาะในการดำเนินงาน
เนื่องจากต้องการผู้ที่มีความรู้พื้นฐานที่ดีมากพอสำหรับการ บริหารจัดการ
ระบบและการ ใช้ประโยชน์ จากข้อมูลที่ได้
3. ข้อมูลที่ได้บางครั้งยังขาด ความละเอียด
เชิงพื้นที่มากพอ เนื่องมาจากเป็นการสำรวจจากระยะไกล ทำให้การศึกษาในบางเรื่องอาจมีข้อจำกัดอยู่มากพอควร
4. ข้อมูลที่ได้บางครั้งยังมี ความคลาดเคลื่อน
อยู่สูง ซึ่งเกิดมาได้จากหลายสาเหตุ ทั้งส่วนที่เกิดมาจากความบกพร่องของตัวระบบเอง
และส่วนที่เกิดมาจากสภาวะแวดล้อมขณะทำการตรวจวัด
อ้างอิง
เอกสารประกอบการเรียน-การสอนวิชา 876211 การสำรวจจากระยะไกล 1
(Remote Sensing 1) ประจำภาคเรียนที่ 1/2557
(Remote Sensing 1) ประจำภาคเรียนที่ 1/2557
โดย ดร.นฤมล อิทรวิเชียร คณะภูมิสารสนเทศศาสตร์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น