การพัฒนาดาวเทียมสำรวจโลกยังคงดำเนินต่อไปอย่างต่อเนื่อง และมีแนวโน้มพัฒนาให้
ดาวเทียมมีอุปกรณ์หลากหลายชนิด และมีศักยภาพในการบันทึกข้อมูลในรายละเอียดสูงขึ้น
ดาวเทียมดวงหนึ่ง ๆ จึงทำได้หลายหน้าที่ โดยทั่วไปแล้วการจำแนกดาวเทียมสำรวจโลกตาม
หน้าที่แบ่งได้ 4 ชนิดคือ
ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา (Meteorological Satellites)
วัตถุประสงค์ของดาวเทียมอุตุนิยมวิทยาคือบันทึกภาพชั้นบรรยากาศโลกประจำวันเพื่อให้ได้ภาพต่อเนื่องของบรรยากาศโลกและมีอุปกรณ์หยั่งวัดอุณหภูมิในชั้นบรรยากาศ เครื่องวัด
การแผ่รังสีของโลก ตัวอย่างดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา เช่นดาวเทียม ATS (Application
Technology Satellite) ปฏิบัติงานใน พ.ศ. 2513 ดาวเทียม SMS (Sunsynchronous
Meteorological Satellites) ปฏิบัติงานช่วงปลายปี พ.ศ. 2513 ดาวเทียมนี้จะ
เคลื่อนตัวอยู่เหนือระดับ อิเควเตอร์ ในระดับความสูงประมาณ 36,000 กม. จะทำการบันทึกภาพพนื้ โลก ในระหว่าง 60 ํ เหนือ และ 60 ํ ใต้ ปัจจบุ นั นี้มดี าวเทียม ทกี่ าํ ลังปฏบิ ตั ิงานอยู่ คือ
GOES (Geostationary Operational Environmental Satellites) West &East ดาวเทียม NOAA
และ ดาวเทียม Meteosat
(ดาวเทียม NOAA)
ดาวเทียมสำรวจสมุทรศาสตร์ (Sea Satellites)
ดาวเทียมสำรวจสมุทรศาสตร์สำรวจข้อมูลด้านลักษณะคลื่นผิวน้ำและใต้ผิวน้ำ ความสูงของคลื่น ศึกษาน้ำแข็งในทะเล อุณหภูมิผิวหน้าทะเล ไอน้ำในชั้นบรรยากาศ ความเร็วลม
ดาวเทียมสมุทรศาสตร์ ทำการบันทึกในช่วงคลื่น microwave ซึ่งเป็นช่วงคลื่นยาว
ตั วอย่างดาวเทียมสาํ รวจสมุทรศาสตร์ เช่น SEASAT RADARSAT และ MOS-1
(ดาวเทียม SEASAT )
ดาวเทียมสำรวจแผ่นดิน (Land Satellites- LANDSAT)
ดาวเทียมสำรวจแผ่นดินมีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจทรัพยากรธรรมชาติ โดยมีวิวัฒนาการเริ่มจากการส่งดาวเทียม LANDSAT-1 (ค.ศ. 1972) ของประเทศสหรัฐอเมริกา และยังส่งดาวเทียม
ดวงถัดมา (LANDSAT-4-5-6) ปัจจุบันใช้ข้อมูลจาก LANDSAT- 5 และ LANDSAT- 7 (ค.ศ.
1999) และดาวเทียมดวงอื่น ๆ เช่น ดาวเทียม SPOT ของประเทศฝรั่งเศส IKONOS
ขององค์การเอกชนของสหรัฐอเมริกา รูปที่ 5 เป็นตัวอย่างดาวเทียมสำรวจแผ่นดินตั้งแต่ยุคแรก
เริ่มมาจนกระทั่งถึงยุคปัจจุบัน
ดาวเทียมสำรวจแผ่นดินจัดเป็นดาวเทียมที่มีรายละเอียดปานกลาง เช่น
1. แบบกวาดภาพหลายช่วงคลื่น (Multispectral Scanning System) หรือเรียกย่อ ๆ ว่า
MSS ประกอบด้วย 4 ช่วงคลื่น มีรายละเอียดจุดภาพประมาณ 80 เมตร
และทำการบันทึกข้อมูลในแถบช่วงคลื่นสีเขียว 1 ช่วงคลื่น สีแดง 1 ช่วงคลื่น และ
อินฟราเรดใกล้ 2 ช่วงคลื่น ตารางที่ 1 แสดงคุณสมบัติเชิงพื้นที่ (spatial characteristic)
และเชิงคลื่น (spectral characteristic) และการประยุกต์ใช้ข้อมูลจากดาวเทียมชนิดนี้
2. LANDSAT Thematic Mapper (TM ) มีรายละเอียดจุดภาพ 30 เมตร
ทำการบันทึกข้อมูลในแถบช่วงคลื่น 7 ช่วงคลื่น คือ น้ำเงิน เขียว แดง อินฟราเรดใกล้
อินฟราเรดกลาง และ ช่วงคลื่นความร้อน (Thermal Wavelength) คุณสมบัติ
และการประยุกต์ใช้ข้อมูลจากดาวเทียมชนิดนี้ แสดงในตารางที่ 2
ปัจจุบันนี้สามารถรับข้อมูลจากดาวเทียมดวงที่ 7 คือ Enhanced Thematic Mapper
(ETM+) ซึ่งให้รายละเอียดจุดภาพ 15 เมตร และเพิ่มรายละเอียดเชิงคลื่นจาก LANDSAT- 5 อีก 1
ช่วงคลื่น คือ แบนด์ 8 มีรายละเอียดจุดภาพประมาณ 15 เมตร
คุณสมบัติของดาวเทียมระบบ MSS และการนำมาใช้ประโยชน์
คุณสมบัติของดาวเทียมระบบ Thematic Mapper และการนำมาใช้ประโยชน์
(ดาวเทียม LANDSAT )
ดาวเทียมสำรวจนำร่อง (NAVSTAR)
ระบบดาวเทียมสำรวจนำร่อง (NAVigation Sattellite Timing And Ranging:NAVSTAR) ถูกส่งขึ้นไปเมื่อ ค.ศ. 1978 โดยรัฐบาลสหรัฐอเมริกา เพื่อสนับสนุนการกำหนด
ตำแหน่งระบบจีพีเอส (Global Positioning System: GPS) ใช้ทั้งกิจการทหารและพลเรือน
ระบบนี้จะมดี าวเทียมทงั้ หมดรวม 24 ดวงโคจรอยู่ทคี่ วามสูง 20,200 กม. ผู้ใช้ที่ภาคพื้นดิน
จะต้องมีเครื่องมือรับสัญญานจากดาวเทียมเพื่อสกัดหาตำแหน่งค่าพิกัดภูมิศาสตร์ หรือค่าพิกัด
อื่นๆ เช่นพิกัด UTM
(ดาวเทียม NAVSTAR )
ลักษณะการโคจรของดาวเทียม
1. การโคจรในแนวระนาบกับเส้นศูนย์สูตร (Geostationary
or Earth synchronous)
การโคจรในแนวระนาบโคจรในแนวระนาบกับเส้นศูนย์สูตร สอดคล้องและมีความเร็วในแนววงกลมเท่าความเร็วของโลกหมุนรอบตัวเอง ทำให้ดาวเทียมเสมือนลอยนิ่งอยู่เหนือตำแหน่งเดิมเหนือผิวโลก(Geostationary or
Earth synchronous)โดยทั่วไปโคจรห่างจากโลกประมาณ 36,000 กม. ซึ่งส่วนใหญ่ ได้แก่ ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา และดาวเทียมสื่อสาร
2. การโคจรในแนวเหนือ-ใต้ (Sun Synchronous)
โคจรในแนวเหนือ-ใต้รอบโลก ซึ่งสัมพันธ์กับดวงอาทิตย์(Sun
Synchronous)โดยโคจรผ่านแนวศูนย์สูตร ณ เวลาท้องถิ่นเดียวกัน โดยทั่วไปโคจรสูงจากพื้นโลกที่ระดับต่ำกว่า 2,000 กม. ซึ่งมักเป็นดาวเทียมสำรวจทรัพยากรแผ่นดิน
อ้างอิง
เอกสารประกอบการเรียน-การสอนวิชา 876211 การสำรวจจากระยะไกล 1
(Remote Sensing 1) ประจำภาคเรียนที่ 1/2557
(Remote Sensing 1) ประจำภาคเรียนที่ 1/2557
โดย ดร.นฤมล อิทรวิเชียร คณะภูมิสารสนเทศศาสตร์
http://www.ee.eng.cmu.ac.th/~tharadol/teach/912706/geo_03.pdf
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น