การวิเคราะห์และจำแนกรายละเอียดข้อมูลแผ่นภาพหรือแผ่นฟิล์มด้วยสายตา

การแสดงภาพสี (Colour Display )





      การแสดงสีของข้อมูลดาวเทียมมีความสำคัญต่อการแปลข้อมูลด้วยสายตามาก เนื่องจาก
ตาของมนุษย์สามารถจำแนกภาพสีได้มากกว่าภาพสีเทา ดังนั้นการใช้ภาพสีจึงสามารถช่วย
ในการเพิ่มรายละเอียดต่าง ๆ ในภาพได้ดีกว่าสีขาวดำ การทำภาพผสมสี (Color composite)
เพื่อสร้างสีขึ้นมาใหม่จากข้อมูลหลายช่วงคลื่น ซึ่งแยกออกได้อีก 2 วิธี (รูปที่ 6) คือ

       1. การทำภาพผสมสีบวก (Additive Primary Color) โดยทำให้แต่ละแบนด์ที่เป็นสี ขาว-
ดำ กลายเป็นสีบวก ใช้แหล่งกำเนิดแสง 3 สี คือ สีน้ำเงิน (Blue) สีเขียว (Green)
และสีแดง (Red) เมื่อนำมาซ้อนทับกันทำให้ได้ภาพสีผสม ปรากฏสีต่าง ๆ
ซึ่งเป็นไปตามทฤษฎี เช่น ภาพที่ได้จากการแสดงผลหลายช่วงคลื่นจอกราฟิกสี

       2. การทำภาพผสมสีลบ (Subtractive Primary Color) สร้างจากการผสมระหว่างแม่สี
สีน้ำเงินเขียว (Cyan) ม่วงแดง (Magenta) และเหลือง (Yellow) เช่น การพิมพ์ภาพสี
เป็นต้น

การสร้างภาพสีผสมเท็จ

      ภาพสีผสมเท็จ ( False Color Composite) เป็นการแสดงภาพโดยใช้ช่วงคลื่นตั้งแต่ 3
ช่วงมาซ้อนกันแล้วใส่สีลงบนแต่ละช่วงคลื่น เช่น ใช้แบนด์สีเขียวเป็นสีน้ำเงิน ใช้แบนด์สีแดง
เป็นสีเขียว และใช้แบนด์อินฟราเรดใกล้เป็นสีแดง ผลที่ได้เป็นภาพสีเท็จ พืชพรรณจะมีสีแดง
ซึ่งจะช่วยทำให้ผู้แปลจำแนกวัตถุต่างชนิดได้ดีขึ้น รูปที่ 7 เป ็น ตัวอย่างการทำภาพผสมสีเท็จ
แบนด์ 3 5 4 (น้ำเงิน เขียว แดง หรือ BGR) ของดาวเทียมระบบ ETM บริเวณอำเภอจอมทอง
บันทึกภาพเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2543 รูปที่ 8 เป็นการแปลความหมายด้วยสายตา
ของสิ่งปกคลุมดินที่อยู่บนภาพสีผสมเท็จ







การแปลความหมายจากภาพสีผสมเท็จ
ตัวอย่างจากดาวเทียมสำรวจทรัพยากรโลก LANDSAT-7
















อ้างอิง

Japan Association of Remote Sensing (1993, หน้า 193 )
เอกสารประกอบการเรียน-การสอนวิชา GEO 154375 ประจำภาคเรียนที่ 1/2544
โดย อ. ดร. สมพร สง่าวงศ์ ภาควชิ าภมู ิศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น