ข้อมูลดาวเทียมที่ได้จากอุปกรณ์บันทึกต่างระบบ จะมีคุณสมบัติแตกต่างกันไป ดังนั้น
ก่อนที่จะนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ จำเป็นต้องพิจารณาถึงคุณสมบัติของดาวเทียมด้วย
โดยทั่วไปแลว้ ผู้ใช้ข้อมูลมักจะพิจารณาด้าน คุณสมบัติเชงิ คลื่น มคี ุณสมบตั ิเชิงพนื้ ที่ และ
คุณสมบัติเชิงกาลเวลา (temporal characteristic)
การประยุกต์ใช้ข้อมูลดาวเทียมคล้ายกับการใช้ภาพถ่ายทางอากาศ ในด้านแปลความหมาย
จากภาพ แต่ภาพข้อมูลดาวเทียมมีศักยภาพต่างไปจากภาพถ่ายทางอากาศ เทคนิคการแปล
ความหมายก็แตกต่างกัน ภาพข้อมูลดาวเทียมสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้หลาย ๆ ด้านเช่น ป่าไม้
การใช้ทดีิ่น การเกษตร ธรณีวิทยา อุทกวิทยา อุบตั ิภยั ลักษณะตะกอนชายฝั่ง ภยั ธรรมชาติ
และการปรับปรุงแผนที่ เป็นต้น ดังมีรายละเอียดพอสรุปได้ ดังนี้
ด้านการเกษตร (Agriculture)
ข้อมูลรีโมทเซนซิงสามารถนำมาใช้ประโยชน์ทางด้านการเกษตรได้หลายอย่าง เช่นการทำแผนที่ เพาะปลูกพืช การบ่งชี้เชื้อโรคต่าง ๆ และความเครียดของพืช การประเมิน
ผลผลิตพืช และ การตรวจหาวัชพืช และพืชที่ผิดกฎหมาย เช่น ฝิ่น เป็นต้น
ด้านธรณีวิทยา (Geology)
เช่น จำแนกรอยแตกแยกหรือโครงสร้างอื่น ๆ ทำแผนที่ภูมิสัณฐานวิทยาและแผนที่พืชพรรณ การสำรวจแหล่งแร่ธาตุและน้ำมันปิโตรเลียม การวิเคราะห์ทางธรณีสัณฐาน
และการระบายน้ำ และการจำแนกชนิดของหิน
ด้านสมุทรศาสตร์ (Oceanography)
เช่น ตรวจอุณหภมู ขิ องทะเล ทำแผนที่พนื้ ผิวทะเลและภมู ิประเทศใต้ท้องทะเล ทำแผนที่กระแสน้ำในทะเล (Ocean Current Mapping) ศึกษามลภาวะในทะเล และศึกษาหาแหล่งปลา
และ ศึกษาน้ำแข็งในทะเล
ศึกษาทรัพยากรธรรมชาติที่ฟื้นตัวได้ (Renewable Resources)
เข่น สำรวจและติดตามการใช้ประโยชน์ที่ดิน (Land Cover Inventory And Monitoring)ศึกษาด้านการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน ทำแผนที่ชนิดของภูมิประเทศ ประเมินผลกระทบ
ของภัยธรรมชาติ เช่น ไฟป่า และความแห้งแล้ง
ศึกษาด้านการชะล้างพังทลายของดิน (Soil Erosion Mapping)
เช่น ทำแผนที่และติดตามการชะล้างพังทลาย พยากรณ์แหล่งที่มีการชะล้างพังทลายติดตามแหล่งที่มีการพังทลายของดิน และความเป็นทะเลทราย
อุทกวิทยา (Hydrology)
ติดตามแหล่งกักเก็บน้ำใต้ดิน ติดตามกิจกรรมด้านการชลประทาน ทำแผนที่แหล่งความเค็ม การประเมินความชื้นในดิน และอุณหภูมิพื้นผิวดิน วางแผนด้านวิศวกรรมการก่อสร้าง
และติดตามประสิทธิภาพของงาน
การทำแผนที่ (Cartography)
ในแขนงวิชาที่เกี่ยวข้องกับการวัด และจัดทำแผนที่ เช่น จีโอดีซี่และโฟโตแกรมเมตรี(Geodesy and Photogrammetry) สามารถรวมกับข้อมูลอื่นเพื่อแสดงผลผลิตแผนที่
ทำภาพสามมิติเพื่อจัดทำแผนที่ภูมิประเทศ และ เก็บรวบรวมและ แก้ไขแผนที่ให้ทันสมัย
ด้านอุตุนิยมวิทยา (Meteorology)
ศึกษาอุณหภูมิ และรูปแบบของอากาศท้องถิ่น ทำแผนที่เมฆ ติดตามการเคลื่อนตัวของพายุโซนร้อน ติดตามไฟป่า ทำแผนที่แหล่งที่มีหิมะปกคลุม และ ศึกษาสภาพอากาศ
ศึกษาด้านผังเมือง (Urban Planning Studies)
เช่น ทำแผนที่แสดงขอบเขตและการเปลี่ยนแปลงการตั้งถิ่นฐานเมือง ศึกษาด้านความหนาแน่นของชุมชน และการระบายน้ำในตัวเมือง ศึกษาเกี่ยวกับเส้นทางคมนาคม
และประเมินผลกระทบที่เกิดจากการขยายตัวของเมืองและอุตสาหกรรมที่มีต่อสภาวะอากาศ
ตัวอย่างกรณีศึกษาการประยุกต์ใช้ข้อมูลดาวเทียมในประเทศไทย ด้านการใช้ประโยชน์
ที่ดิน ด้านการเกษตร และด้าน อื่น ๆ สามารถตรวจได้จากวารสารสำรวจระยะไกล
และสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Journal of Remote Sensing and GIS Applications)
ที่ออกโดยสมาคมสำรวจข้อมูลจากระยะไกลและสารสนเทศภูมิศาสตร์ (องค์การมหาชน) หรือ
วารสารที่เกี่ยวข้อง อื่น ๆ นอกจากนี้แล้ว สมพร สง่าวงศ์ (2543) ได้รวบรวมบทความทางวิชาการ
ด้านสำรวจระยะไกล และสารสนเทศภูมิศาสตร์ไว้ กรณีศึกษา ซึ่งอาจจะเป็นแนวทางในการ
นำเอาข้อมูลสำรวจระยะไกล ไปประยุกต์ใช้ในสาขาที่สนใจต่อไป
การสำรวจทางโบราณคดีและมานุษยวิทยา (Archaeology and Anthropology Study)
ที่สำคัญคือ การสำรวจ ที่ตั้ง ของแหล่งโบราณสถาน
ในพื้นที่ซึ่งยากต่อการเข้าถึงทางพื้นดิน รวมถึง ที่อยู่ ใต้ผิวดินไม่ลึกมากนัก
โดยมักใช้ข้อมูลที่ได้จากเรดาร์และเครื่องวัดการแผ่รังสีช่วง IR
การศึกษาทางวิศวกรรมโยธา (Civil Engineering)
ที่สำคัญคือ การศึกษาพื้นที่ (site study) การวางผังระบบสาธารณูปโภค (infrastructure
planning) และ การวางแผนจัดระบบการขนส่งและการจราจร (transport and
traffic planning)
เป็นต้น
การศึกษาในภาคเกษตรและการจัดการป่าไม้ (Agricultural and Forestry Study)
ที่สำคัญมีอาทิเช่น
การใช้ประโยชน์ที่ดินภาคเกษตร
การสำรวจคุณภาพดิน
การสำรวจความสมบูรณ์ของพืชพรรณ และ
การตรวจสอบการใช้ประโยชน์และการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ป่าไม้ตามเวลา เป็นต้น
การติดตามตรวจสอบภัยธรรมชาติ (Natural Disaster Monitoring)
ที่สำคัญมีอาทิเช่น น้ำท่วมและแผ่นดินถล่ม
การระเบิดของภูเขาไฟและแผ่นดินไหว การเกิดไฟป่า หรือ
การเกิดไฟในแหล่งถ่านหินใต้ผิวดิน (subsurface coal fires) เป็นต้น
ตัวอย่างแนว
การประยุกต์ใช้งาน ของเทคโนโลยีดาวเทียมทาง RS ในปัจจุบัน
อ้างอิง
เอกสารประกอบการเรียน-การสอนวิชา 876211 การสำรวจจากระยะไกล 1
(Remote Sensing 1) ประจำภาคเรียนที่ 1/2557
(Remote Sensing 1) ประจำภาคเรียนที่ 1/2557
โดย ดร.นฤมล อิทรวิเชียร คณะภูมิสารสนเทศศาสตร์
http://www.ee.eng.cmu.ac.th/~tharadol/teach/912706/geo_03.pdf
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น